Pseudomonas aeruginosa เป็นแบคทีเรียแกรมลบ มีรูปร่างแท่ง aerobic เป็นแบคทีเรียในวงศ์ Pseudomonadaceae สามารถเคลื่อนที่ได้โดย flagellum 1 เส้นที่ติดอยู่ตรงหัว ปกติจะพบกระจายในดิน น้ำ ขยะ หรือในพืช และเป็นnormal flora ในลำไส้คน Pseudomonas aeruginosa สามารถทำให้เกิดโรคในคนได้ รวมทั้งสัตว์ แมลงและต้นไม้ได้บ้าง
Pseudomonas aeruginosa เป็นเชื้อโรคฉวยโอกาสจะมีการติดเชื้อกับผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำหรือป่วยมากๆ หรือผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล บางทีจึงเรียกโรคติดเชื้อที่เกิดจาก Pseudomonas aeruginosa ว่าโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล จากผู้ป่วยโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล 2000 คนต่อปี จะมีจำนวน 10 % ที่มีสาเหตุมาจาก Pseudomonas aeruginosa ซึ่ง Pseudomonas aeruginosa เป็นสาเหตุอันดับสองในการทำให้เกิดโรคปอดบวมในโรงพยาบาล และเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ในการก่อให้เกิดโรคปอดบวม ในห้อง ICU โรคติดเชื้อจาก Pseudomonas สามารถแพร่กระจายภายในโรงพยาบาลโดยบุคลากร อุปกรณ์การแพทย์ ผิวหนัง น้ำยาฆ่าเชื้อ และอาหาร โรคติดเชื้อนี้เป็นปัญหาที่รุนแรงมากในโรงพยาบาลมากเนื่องจาก ผู้ป่วยซึ่งมีอาการหนักอยู่แล้วจะเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดเชื้อจาก Pseudomonas และ Pseudomonas ดื้อต่อยาปฏิชีวนะมาก ทำให้ยากต่อการรักษา
Pseudomonas aeruginosa สามารถติดเชื้อได้หลายระบบในร่างกายเนื่องจากมีหลายปัจจัยในการก่อให้เกิด เช่น ความสามารถในการเกาะยึดติดกับเยื่อบุผิว ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ สร้างโปรตีนที่มาทำลายเนื้อเยื่อ และมี protective outer coat
Pseudomonas aeruginosa สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ในหลายส่วนของร่างกาย
หัวใจ และกระแสเลือด Pseudomonas aeruginosa เป็นสาเหตุอันดับ 4 ในการก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือดการติดเชื้อในกระแสเลือดจะเกิดกับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดและผู้ที่ติดเชื้อ ในบริเวณอื่นของร่างกาย Pseudomonas aeruginosa จะมีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจในผู้ติดยาที่ฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำหรือผู้ที่ใช้ลิ้นหัวใจเทียม
กระดูกและข้อต่อ การติดเชื้อในส่วนนี้อาจเกิดจากการบาดเจ็บหรือมีการแพร่กระจายของเชื้อมาจาก เนื้อเยื่ออื่นหรือการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ติดยาที่ฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ หรือติดเชื้อในกระแสเลือดจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่กระดูกและข้อต่อ
ระบบ ประสาทส่วนกลาง Pseudomonas aeruginosa จะทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งอาจเกิดจากการที่สมองได้รับบาดเจ็บจากการผ่าตัด จากการแพร่กระจายจากส่วนของของร่างกาย หรือจากการติดเชื้อในกระแสเลือด
ตาและหู Pseudomonas aeruginosa จะก่อให้เกิดการติดเชื้อที่หูส่วนนอกที่เรียกว่า “ swimmer’s ear” ซึ่งสามารถหายได้เอง แบคทีเรียจะก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงในผู้สูงอายุ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาด้านการได้ยิน ใบหน้าเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิต ส่วนการติดเชื้อที่ตามักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่กระจกตาซึ่งจะทำให้ตาบอดในที่สุด ปัจจัยที่มีผลในการทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ตารวมถึงการใส่ซอฟท์คอนแทคเลนส์ การใช้ยาตาที่มี corticosteroid มีอาการโคม่า ถูกไฟไหม้รุนแรง หรือรักษาตัวอยู่ในห้อง ICU
ทาง เดินปัสสาวะ ติดได้จากการใช้เครื่องทางการแพทย์หรือการผ่าตัด
ปอด ปัจจัยที่มีผลในการทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ปอดได้แก่เป็นโรคปอดเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันต่ำ ใช้ยาปฏิชีวนะ และผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว
ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน คนสุขภาพดีก็สามารถติดเชื้อได้ จากการอาบน้ำหรือเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ hot tubs ที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ซึ่งโรคติดเชื้อ Pseudomonas ที่ผิวหนังนี้มักจะเกิดการสับสนกับโรคอีสุกอีใสและจะเกิดอาการรุนแรงได้กับผู้ที่เชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วยPseudomonas aeruginosa เป็นสาเหตุอันดับสองในการก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในบาดแผลไฟไหม้ในผู้ป่วยที่ พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
เนื่องจาก Pseudomonas aeruginosa ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ดังนั้นในการรักษาจึงนิยมให้ยาปฏิชีวนะสองตัวร่วมกัน โรคติดเชื้อจาก Pseudomonas มักรักษาโดยการให้ยาร่วมกัน เช่น ยา ceftazidine, ciprofloxacinimipenem, gentamicin, tobramycin, ticarcillin- clavulonate หรือ piperacillin-tazobactam ให้โดยฉีดเข้าเส้นเลือดดำหรือรับประทาน เป็นเวลา 2- 6 สัปดาห์ ถ้าเป็นการรักษาตาควรจะต้องใช้ยาหยอดตา
หรือใช้การผ่าตัด ซึ่งบางครั้งจำเป็นที่จะต้องตัดเนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อและถูกทำลายออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่สมองอักเสบ, ติดเชื้อที่ตา, กระดูกและข้อต่อ, หู, หัวใจหรือบาดแผล
แต่อย่างไรก็ตามโรคติดเชื้อจาก Pseudomonas aeruginosa ก็มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูง โดยเฉพาะจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อที่ปอด อัตราการเสียชีวิตมีช่วงที่กว้าง โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่หูจะมีอัตราการเสียชีวิต 15 – 20 % จนถึงผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่หัวใจห้องซ้ายซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต 89 %
Reference :
http://www.asm.org
http://anka.livstek.lth.se:2080/P-aeruginosa.htm
http://www.pseudomonas.com/p_aerug.html
http://www.chclibrary.org/micromed/00062430.html